จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์

web counter
ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์สหกรณ์เคหสถานกรุงเทพฯ จำกัด (Welcome to Bangkok Housing Cooperative Ltd.)

การกู้เงินสหกรณ์เคหสถานกรุงเทพฯ จำกัด

เงื่อนไขการกู้เงิน


1. การให้เงินกู้ จะให้ได้เฉพาะกรณีเพื่อการอันจำเป็น หรือมีประโยชน์ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร แต่จะให้เงินกู้เพื่อสุรุ่ยสุร่าย หรือเก็งกำไรมิได้ 
2. สหกรณ์จะให้เงินกู้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น 
3. สมาชิกผู้ที่ประสงค์ขอกู้เงิน จะต้องเสนอคำขอกู้เงินต่อสหกรณ์ตามแบบที่กำหนดไว้
4. คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจะเป็นผู้วินิจฉัยคำขอกู้ตามเห็นสมควร และจัดทำรายงานเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เป็นหลักประกันเสนอคณะกรรมการเพื่อพิจารณา รวมทั้งการจดจำนอง โดยผู้กู้จะต้องให้ความร่วมมือ

1. เงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉิน


1.1 เงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉิน ให้จำนวนไม่เกินร้อยละ 95 ของทุนเรือนหุ้นที่มีอยู่ ในขณะนั้น แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาท 
ในกรณีที่สมาชิกยังมีเงินกู้ฉุกเฉินค้างชำระอยู่ อาจยื่นกู้เพื่อเหตุฉุกเฉินเพิ่มเติมได้ แต่จะมีเงินต้นรวมกันเกินกว่ากำหนดในวรรคก่อนไม่ได้ และต้องเสียค่าธรรมเนียมตามที่สหกรณ์กำหนด 
1.2 สมาชิกผู้ประสงค์ขอกู้เงินเพื่อเหตุฉุกเฉิน ต้องเสนอคำขอกู้ตามแบบที่สหกรณ์กำหนดให้ผู้จัดการพิจารณาอนุมัติ
1.3 การส่งเงินงวดชำระหนี้สำหรับเงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉิน ให้ผู้กู้ส่งคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยเป็นงวดรายเดือนไม่เกินสิบสองงวดติดต่อกัน ทั้งนี้ โดยไม่มีการผ่อนเวลา

2. เงินกู้สามัญ


2.1 สมาชิกผู้ประสงค์ขอกู้เงินสามัญ ต้องเป็นสมาชิกสหกรณ์ติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งอยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการ
2.2 สมาชิกผู้ประสงค์ขอกู้เงินสดสามัญต้องเสนอคำขอกู้ตามแบบที่สหกรณ์กำหนดผ่านผู้จัดการเพื่อพิจารณาก่อน เมื่อผู้จัดการพิจารณาแล้วเห็นว่าถูกต้องเหมาะสม จึงเสนอที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณา
2.3 เงินกู้สามัญ ซึ่งให้แก่สมาชิกผู้กู้คนหนึ่ง ๆ นั้น ดังนี้
(1) เป็นสมาชิกไม่ถึง 5 ปี ให้จำนวนไม่เกิน 400,000 บาท 
(2) เป็นสมาชิกตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป ให้จำนวนไม่เกิน 800,000 บาท
(3) ร้อยละ 95 ของทุนเรือนหุ้นที่มีอยู่ในขณะนั้น แต่ต้องไม่เกิน 1,000,000 บาท
2.4 ในกรณีที่ผู้กู้ยังชำระเงินกู้สามัญไม่แล้วเสร็จ แต่มีความประสงค์จะขอกู้เงินสามัญใหม่ก็ได้ แต่ต้องยินยอมให้หักเงินชำระเงินกู้สามัญเดิมทั้งหมด จากเงินกู้สามัญใหม่ที่ได้รับ พร้อมทั้งเสียค่าธรรมเนียมตามที่สหกรณ์กำหนด
2.5 การส่งเงินงวดชำระหนี้สำหรับเงินกู้สามัญ ให้ผู้กู้ส่งคืนเงินต้นเป็นงวดรายเดือนๆ ละ เท่าๆ กัน (ยกเว้นงวดสุดท้าย) พร้อมด้วยดอกเบี้ยไม่เกิน 100 งวด

3. เงินกู้พิเศษ


3.1 สมาชิกผู้ประสงค์ขอกู้เงินพิเศษ ต้องเสนอคำขอกู้ตามแบบที่สหกรณ์กำหนด ผ่านผู้จัดการเพื่อพิจารณาก่อน เมื่อผู้จัดการพิจารณาแล้วเห็นว่าถูกต้องเหมาะสม จึงเสนอที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณา
3.2 สมาชิกจะขอกู้เงินพิเศษ ต้องเป็นสมาชิกสหกรณ์ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี ยกเว้นการซื้ออสังหาริมทรัพย์จากสหกรณ์ หรืออยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการ
3.3 เงินกู้พิเศษ ได้แก่
(1) เพื่อซื้ออาคารพร้อมที่ดิน หรืออาคารชุด หรือที่ดินเพื่อจะได้ก่อสร้างอาคารในระยะเวลาอันสมควร
(2) เงินกู้เพื่อการสร้าง ต่อเติม หรือปรับปรุงอาคาร
(3) เงินกู้เพื่อกิจการซึ่งเกี่ยวข้องหรือจำเป็นแก่ข้อ 3.3. (1) หรือ (2) 
(4) เพื่อไถ่ถอนจำนองอาคารพร้อมที่ดิน หรือที่ดิน หรืออาคารชุด
3.4 สมาชิกที่ประสงค์จะขอกู้เงินพิเศษตามข้อ 3.3 ดังกล่าว ต้องเสนอคำขอกู้ตามแบบที่สหกรณ์กำหนดผ่านผู้จัดการ เพื่อพิจารณารายละเอียดและหลักฐานต่างๆ
(1) รายการทรัพย์สินและหนี้สิน รายได้และรายจ่าย รายการบุคคลในครัวเรือน การอยู่อาศัยเดิม และเหตุผลความจำเป็นที่ต้องจัดให้มีที่อยู่ใหม่
(2) รายละเอียดและหลักฐานแห่งที่ดิน หรืออาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดที่จะซื้อ หรือจะก่อสร้างต่อเติม หรือปรับปรุงอาคาร
(3) แบบรูปและรายการก่อสร้างหรือต่อเติม หรือปรับปรุงอาคาร ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย และต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการด้วย
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงแบบรูป หรือรายการก่อสร้างดังกล่าวในวรรคก่อน ในสาระสำคัญต้องได้รับความเห็นชอบจากบุคคล ซึ่งได้รับมอบจากคณะกรรมการเพื่อการนี้ และให้ผู้รับมอบรายงานให้คณะกรรมการทราบด้วย
(4) กำหนดเวลาและราคา สัญญาที่จะทำไว้หรือร่างสัญญาที่จะทำ ความต้องการเงินกู้และจำนวนเงินซึ่งตนจะออกเอง กำหนดการใช้จ่ายเงินกู้
(5) รายละเอียดและหลักฐานทรัพย์สินที่เสนอเป็นหลักประกัน
3.5 จำนวนเงินกู้พิเศษ ซึ่งให้แก่สมาชิกผู้กู้คนหนึ่งๆ นั้น สุดแต่คณะกรรมการจะพิจาณณากำหนดตามที่เห็นสมควร โดยคำนึงถึงลักษณะที่อยู่อาศัยตามสมควรแก่ฐานะ และความสามารถในการชำระหนี้ของสมาชิกนั้น ในวงเงินไม่เกิน 5,000,000 บาท 
3.6 การส่งเงินงวดชำระหนี้สำหรับเงินกู้พิเศษ ให้ผู้กู้ส่งคืนเงินต้นเป็นงวดรายเดือน ๆ ละเท่า ๆ กัน (ยกเว้นงวดสุดท้าย) พร้อมด้วยดอกเบี้ยไม่เกิน 240 งวด
3.7 เมื่อผู้กู้ได้ดำเนินการตามความมุ่งหมายแห่งหนังสือกู้เสร็จแล้วต้องรีบรายงานเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้จัดการของสหกรณ์ทราบ ภายในระยะเวลา 30 วัน
3.8 เมื่อผู้จัดการได้รับรายงานจากผู้กู้ตามข้อ 3.7 แล้ว จะรายงานให้คณะกรรมการทราบ

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้


- เรียกเก็บดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภท ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี โดยจะประกาศให้ทราบเป็นคราวๆ ไป 
- ดอกเบี้ยนั้นให้คิดเป็นรายวันตามจำนวนเงินต้นคงเหลือ โดยให้ถือว่าหนึ่งปีมี 365 วัน

หลักค้ำประกันสำหรับเงินกู้


1. การให้เงินกู้แก่สมาชิกนั้น ผู้กู้ต้องทำหนังสือกู้ไว้ต่อสหกรณ์ตามแบบที่กำหนดไว้ ถ้าเงินกู้นั้นมีจำนวนไม่เกินค่าหุ้นซึ่งผู้กู้มีอยู่ในสหกรณ์ไม่ต้องมีหลักประกันอย่างอื่นอีก ถ้าเงินกู้นั้นมีจำนวนเกินกว่าค่าหุ้น ซึ่งผู้กู้มีอยู่ในสหกรณ์ ต้องมีหลักประกันอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
- มีอสังหาริมทรัพย์ประเภทโฉนดที่ดิน หรือ น.ส. 3 ก. อันปลอดจากภาระจำนองรายอื่น จำนองเป็นหลักประกันเต็มวงเงินกู้ โดยต้องเป็นที่พอใจของคณะกรรมการว่าต้องไม่สูงกว่าร้อยละ 80 ของราคาประเมินอสังหาริมทรัพย์ที่จำนองเป็นหลักประกันเงินกู้นั้นอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง ผู้กู้ต้องทำประกันวินาศภัยอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างนั้นกับ บริษัท ประกันภัยที่สหกรณ์กำหนด ในวงเงินเอาประกันไม่น้อยกว่าเงินที่ขอกู้ซึ่งหักค่าที่ดินแล้ว โดยระบุให้สหกรณ์เป็นผู้รับผลประโยชน์ และจะต้องต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว ตลอดเวลาตราบเท่าที่ผู้กู้ยังชำระเงินตามสัญญาไม่แล้วเสร็จ โดยผู้กู้เป็นผู้ชำระค่าเบี้ยประกัน หากผู้กู้ไม่ต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัย หรือไม่ชำระค่าเบี้ยประกันภัย สหกรณ์อาจหักจากเงินปันผล หรือเงินเฉลี่ยคืนเพื่อนำมาชำระเป็นค่าเบี้ยประกันแทนผู้กู้หรือให้ผู้กู้เปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ไว้ในสหกรณ์โดยต้องมียอดเงินฝากคงเหลือในบัญชีไม่น้อยกว่าค่าเบี้ยประกันที่จะต้องชำระในแต่ละปีก็ได้
2. มีหลักทรัพย์รัฐบาล หรือบัญชีเงินฝากในสหกรณ์นี้ ซึ่งคณะกรรมการเห็นสมควรจำนำเป็นประกันเงินกู้รายนั้น โดยจำนวนเงินกู้ส่วนที่เกินกว่าค่าหุ้นของผู้กู้ต้องไม่เกิดร้อยละ 90 แห่งมูลค่าของหลักทรัพย์นั้นๆ

การควบคุมหลักประกันและการเรียกคืนเงินกู้


1. ผู้จัดการเป็นผู้ควบคุมการให้เงินกู้ทุกราย โดยมีหลักประกันตามที่กำหนดไว้ในระเบียบ เมื่อเห็นว่าหลักประกันสำหรับเงินกู้รายใดเกิดบกพร่อง ผู้กู้ต้องจัดการแก้ไขให้คืนดีภายในระยะเวลาที่กำหนด 
2. กรณีใด ๆ ดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเงินกู้ไม่ว่าประเภทใดๆ เป็นอันถึงกำหนดส่งคืนโดยสิ้นเชิง พร้อมทั้งดอกเบี้ยในทันที โดยมิพักคำนึงถึงกำหนดเวลาที่ให้ไว้ และผู้จัดการต้องจัดการเรียกคืนโดยมิชักช้า
(1) เมื่อผู้กู้ออกจากสหกรณ์ไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ
(2) เมื่อปรากฏว่า ผู้กู้นำเงินกู้ไปใช้ผิดความมุ่งหมายที่ให้เงินกู้นั้น
(3) เมื่อเห็นว่าหลักประกันสำหรับเงินกู้เกิดบกพร่อง และผู้กู้มิได้จัดการแก้ไขให้คืนดีภายในระยะเวลาที่กำหนด
(4) เมื่อค้างส่งเงินงวดชำระหนี้ (ไม่ว่าเงินต้นหรือดอกเบี้ย) เป็นเวลาสามเดือน ติดต่อกัน หรือผิดนัดการส่งเงินงวดชำระหนี้ดังว่านั้นถึงสามคราวสำหรับเงินกู้รายหนึ่งๆ
3. ในกรณีที่เงินกู้เป็นอันส่งคืนโดยสิ้นเชิงตามที่กล่าวแล้วในข้อ 2. ถ้าผู้กู้มีคำขอเป็นหนังสือขอผ่อนผันการส่งเงินงวดชำระหนี้เป็นพิเศษ คณะกรรมการเห็นว่ามีเหตุอันสมควรจะผ่อนเวลาส่งเงินงวดชำระหนี้สำหรับเงินกู้คราวหนึ่ง หรือหลายคราวก็ได้ แต่การผ่อนเวลาเช่นนี้รวมกันทั้งหมดสำหรับผู้กู้รายหนึ่งๆ ต้องไม่เกินหกเดือน
4. ผู้กู้ต้องมีทุนเรือนหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของวงเงินที่ขอกู้
5. หากผู้กู้ผิดนัดชำระหนี้ สหกรณ์จะคิดค่าปรับในอัตราร้อยละ 3 ต่อเดือน จากจำนวนเงินที่ผ่อนชำระในงวดนั้นๆ